เมนู

3. อุโภอัตถสูตร


ว่าด้วยธรรมอย่างหนึ่งยึดประโยชน์ 2 อย่าง


[201] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1 ประโยชน์
ในสัมปรายภพ 1 ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ ความไม่ประมาทในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แลอันภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1
ประโยชน์ในสัมปรายภพ 1.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ
ไม่ประมาท ในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิต
ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์นี้ทั้งสอง
ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1 ประ-
โยชน์ในสัมปรายภพ 1 นักปราชญ์
กาวว่าเป็นบัณฑิต เพราะการได้ประโยชน์
ทั้ง 2 นั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบอุโภอัตถสูตรที่ 3

อรรถกถาอุโภอัตถสูตร


ในอุโภอัตถสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ทำให้เกิดขึ้น และให้เจริญขึ้น. บทว่า
พหุลีกโต ได้แก่ ทำบ่อย ๆ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล.
จริงอยู่ ประโยชน์เกื้อกูลนั้นท่านกล่าว อตฺโถ เพราะความไม่มีข้าศัก เพราะ
ควรเข้าไปถึง. บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏฐติ ได้แก่ ยึดไว้โดยชอบ คือ
ไม่ละยังเป็นไปอยู่. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกํ ได้แก่ อัตภาพที่เห็นประจักษ์
ท่านเรียกว่า ทิฏฐธรรม. ความเจริญในทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธรรมิกะ.
อธิบายว่า ความเจริญอัน เนื่องอยู่ในโลกนี้. บทว่า สมฺปรายิกํ ได้แก่โลกอื่น
ชื่อสัมปรายะ เพราะควรไปในเบื้องหน้าด้วยอำนาจธรรม. ความเจริญใน
เบื้องหน้า ชื่อว่า สัมปรายิกะ. ท่านอธิบายว่า ความเจริญอันเนื่องในโลกหน้า.
ถามว่า ประโยชน์ปัจจุบันนั้นคืออะไร หรือประโยชน์ภพหน้าคืออะไร
ตอบว่า กล่าวเพียงโดยย่อ อันใดเป็นความสุขในโลกนี้ และอันใดนำความสุข
มาให้ในโลกนี้ เดี๋ยวนี้ นี้แหละคือประโยชน์ปัจจุบัน. เช่นสุขของคฤหัสถ์
ก่อนมีอาทิอย่างนี้ คือ ของใช้ที่ดี การงานไม่วุ่นวายสับสน รู้วิธีรักษาสุขภาพ
ทำของใช้สะอาด จัดการงานดี ช่างฝ่ายมือและแสวงหาความรู้ สงเคราะห์บริวาร.
ส่วนความสุขของบรรพชิต มีอาทิอย่างนี้ คือ เครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้
ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช เหล่าใด การได้เครื่องใช้เหล่านั้น
โดยไม่ยาก อนึ่ง การเสพด้วยการพิจารณา การเว้นด้วยการพิจารณาในของใช้
เหล่านั้น การทำวัตถุให้สะอาด ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด
ความไม่คลุกคลี. พึงทราบว่า การอยู่ในประเทศอันสมควร การคบสัตบุรุษ